วันพุธที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การถ่ายทอดความคิดในการแก้ปัญหาด้วย "ลอการิทึม"


การเขียนรหัสจำลอง

                    รหัสลำลองหรือ pseudocode เป็นคำบรรยายที่เขียนแสดงขั้นตอนวิธี(algorithm) ของการเขียนโปรแกรม โดยใช้ภาษาที่กะทัดรัด สื่อสารกับโปรแกรมเมอร์ผู้เขียนโปรแกรม โดยอาจใช้ภาษาที่ใช้ทั่วไปและอาจมีภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมประกอบ แต่ไม่มีมาตรฐานแน่นอนในการเขียน pseudocode  และไม่สามารถนำไปทำงานบนคอมพิวเตอร์โดยตรง(เพราะไม่ใช่คำสั่งในภาษาคอมพิวเตอร์) และไม่ขึ้นกับภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาใดภาษาหนึ่ง

                    นิยมใช้ pseudocode แสดง algorithmมากกว่าใช้ผังงาน เพราะผังงานอาจไม่แสดงรายละเอียดมากนักและใช้สัญลักษณ์ซึ่งทำให้ไม่สะดวกในการเขียน เช่นโปรแกรมใหญ่ ๆ มักจะประกอบด้วยคำสั่งต่างๆที่ใกล้เคียงกับภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมจริงๆ เช่น begin…end, if…else, do…while, while, for, read และ print 

                    การเขียนรหัสจำลองจะต้องมีการวางแผนสำหรับการอ้างอิงถึงข้อมูลต่างๆที่จะใช้ในโปรแกรมด้วยการสร้างตัวแปร โดยใช้เครื่องหมายเท่ากับ (=) แทนการกำหนดค่าให้กำหนดตัวแปรนั้นๆ

ตัวอย่างการเขียน Pseudocode




1 : การเขียน Pseudocode ในการหาค่าผลบวกเลข 3 จำนวน ที่รับเข้ามาทางแป้นพิมพ์
Algorithm Summation
 1. SUM = 0 2. INPUT (value1) 3. INPUT (value2) 4. INPUT (value3) 5. SUM = value1 + value2 + value3 6. OUTPUT (SUM) End.


2 : การเขียน Pseudocode ในการคำนวณหาพื้นที่สามเหลี่ยมAlgorithm Triangle area
 1. area = 0 2. Read Base 3. Read Height 4. Compute area = 1/2 * Base * Height 5. Point areaEnd.

3 : การหาค่าเฉลี่ย Algorithm Avarage_Sum
 1. count = 0 2. sum =0 3. INPUT (value) 4. IF value > 0 THEN         count = count+1         sum = sum+value         GOTO 3         ELSE GOTO 5 5. avarage = sum/count 6. OUTPUT (avarage) 7. END

การเขียนผังงาน (flowchart) 

        คือ แผนภาพซึ่งแสดงลำดับขั้นตอนของการทำงาน โดยแต่ละขั้นตอนจะถูกแสดงโดยใช้สัญลักษณ์ซึ่งมีความหมายบ่งบอกว่า ขั้นตอนนั้น ๆ มีลักษณะการทำงาน ทำให้ง่ายต่อความเข้าใจ ว่าในการทำงานนั้นมีขั้นตอนอะไรบ้าง และมีลำดับอย่างไร



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น